• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

รู้ก่อนซื้อบ้าน ข้อดีและข้อควรระวังของการกู้บ้านร่วม

Started by waanbotan_, January 11, 2024, 06:06:24 PM

Previous topic - Next topic

waanbotan_

ฝันในการซื้อบ้านอาจจะเกิดได้ยากหากเรารู้ศึกหลังจากคำนวณเงินกู้บ้านแล้ว คนเดียวคงไม่ไหว สินเชื่อกู้บ้านร่วมจึงเป็นอีกหนึ่งทางที่น่าสนใจเพราะหากเราสามารถหาคนมา กู้ร่วมซื้อบ้าน เพื่อเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ได้ อธิบายให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เช่น ราคาบ้านหลังละ 3 ล้านบาท ผู้กู้คนแรกมีความสามารถในการกู้ได้เพียง 1.5 ล้านบาท ทางธนาคารหรือสถาบันการเงินจึงแนะนำทางออกด้วยการให้ผู้กู้หาผู้กู้ร่วมเพื่อให้สามารถขอสินเชื่อให้ได้ถึง 3 ล้านบาทเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์การซื้อบ้านนั่นเอง
   
การกู้ร่วม เป็นการทำสัญญากู้เงินซื้อบ้านร่วมกันของผู้กู้หลายคน โดยผู้กู้ทั้งหมดต้องเป็นญาติที่มีนามสกุลเดียวกัน กรณีไม่ได้ใช้นามสกุลเดียวกัน ก็ต้องแสดงหลักฐานที่พิสูจน์ว่าเป็นญาติหรือมีนามสกุลเดียวกัน เช่น สูติบัตร ทะเบียนบ้าน รูปภาพงานแต่งงาน หนังสือรับรองบุตร เป็นต้น
   
3 ข้อดีของการ กู้ร่วมซื้อบ้าน ได้แก่
   1. เพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ ทำให้ธนาคารพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น
   2. มีความสามารถในการชำระหนี้มากขึ้น มีโอกาสได้รับการพิจารณาวงเงินกู้ที่สูงขึ้น
   3. มีผู้ร่วมรับภาระหนี้ เป็นการกระจายความเสี่ยงกรณีที่ผู้กู้คนใดคนหนึ่งไม่สามารถชำระหนี้ได้

4 ข้อควรระวังเมื่อกู้ร่วม มีดังนี้
1. การกู้ร่วมคือมีภาระหนี้ร่วมกัน ไม่ได้หมายถึงภาระหนี้ที่หารเฉลี่ยตามจำนวนของผู้กู้ร่วม กรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารสามารถเรียกชำระหนี้จากผู้กู้คนใดคนหนึ่งได้ นอกจากนี้ กรณีที่ผู้ร่วมกู้คนใดคนหนึ่งต้องการกู้เงินซื้อบ้านหลังใหม่ ก็จะถือว่ายังมีภาระหนี้ของบ้านหลังเดิมอยู่ ซึ่งมีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อของบ้านหลังใหม่ด้วย
2. การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ การกู้ร่วมสามารถระบุผู้รับกรรมสิทธิ์เป็นบุคคลเดียวได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นชื่อของผู้ร่วมกู้ทุกคน กรณีที่ผู้กู้ร่วมเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในบ้าน การขายหรือการโอนบ้านต้องได้รับความยินยอมจากทุกคน
3. สิทธิการลดหย่อนภาษี จะหารเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ร่วม ดังนั้นผู้กู้ที่ต้องการสิทธิการลดหย่อนภาษีควรพิจารณาเรื่องนี้ด้วย
4. กรณีที่มีการถอนกู้ร่วม ธนาคารจะพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ที่เหลือและรีไฟแนนซ์ แต่ในกรณีที่ผู้กู้ร่วมเสียชีวิต ธนาคารจะพิจารณาให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกเป็นผู้ชำระหนี้ร่วมกัน ทั้งนี้ถ้าผู้กู้ที่เหลือไม่สามารถชำระหนี้ต่อได้ ก็จำเป็นต้องขายบ้าน

เตรียมเอกสารให้พร้อมยื่นกู้บ้านร่วม (แนะนำว่าให้สอบถามธนาคารเพิ่มเติมก่อนอีกครั้ง)   
1. เอกสารส่วนบุคคล ได้แก่ บัตรประชาชน เอกสารเปลี่ยนชื่อนามสกุล สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส ใบหย่า ใบมรณบัตร และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง
   2. เอกสารทางการเงินสำหรับพนักงานประจำ ได้แก่ สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองเงินเดือน สมุดบัญชีธนาคาร Statement ย้อนหลัง 6 เดือน
   3. เอกสารทางการเงินสำหรับผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัวหรืออาชีพอิสระ ได้แก่ สำเนาทะเบียนการค้า หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล บัญชีเงินฝาก Statement ย้อนหลัง 6 -12 เดือน หลักฐานแสดงรายได้และรายการทรัพย์สิน
   4. เอกสารหลักประกัน ได้แก่ สำเนาโฉนดหรือสำเนากรรมสิทธิ์ห้องชุด สัญญาจะซื้อจะขาย
   
เมื่อเราต้องการกู้ร่วม  ควรศึกษาข้อมูลและข้อควรระวังของการกู้ร่วมที่อาจมีผลกระทบกับผู้กู้ร่วมก่อนทำสัญญากู้ร่วมซื้อบ้าน